ว่าด้วยเรื่องการชำระภาษีที่อเมริกา!!!
/ วีซ่า / วีซ่าอเมริกา / ว่าด้วยเรื่องการชำระภาษีที่อเมริกา!!!
แม้ว่าเราอาจไม่ตระหนักเรื่องภาษี แต่ภาษีเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึงในการดำเนินชีวิตที่อเมริกา ไม่เฉพาะกับคนอเมริกันเท่านั้น แต่กับทุกคนที่อยู่ในอเมริกาเป็นเวลานาน เพื่อรับการศึกษา ฝึกงาน หรือประกอบอาชีพเพื่อให้เกิดรายได้แก่ประเทศ
เนื่องจากภาษีเป็นเรื่องสำคัญ ก่อนไปอเมริกาคุณควรรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในการชำระภาษีขณะที่คุณยังพักอยู่ในต่างประเทศ อเมริกามีสนธิสัญญาทางด้านภาษีกับประเทศอื่น ๆ มากมาย ถ้าต้องเดินทางเป็นเวลานานเพื่อติดต่อธุรกิจ ไปฝึกงาน หรือไปศึกษาต่อ พยายมเรียนรู้กับระเบียบการชำระภาษีของผู้พำนักอาศัยชั่วควาวที่ถือวีซ่าประเภทต่าง ๆ เพราะเมื่อคุณสัมภาษณ์กับเจ้าหน้าที่กงสุลอเมริกา คุณสามารถขอวีซ่าประเภทที่ต้องการได้ตามข้อมูล เช่น มีสนธิสัญญาสากลพิเศษที่ควบคุมเรื่องภาษีสำหรับพนักงานของรัฐบาลต่างประเทศและพนักงานองค์กรสากลบางแห่งโดยเฉพาะ
อเมริกามีภาษีหลายประเภท จัดเก็บหลายระดับ เช่น ภาษีรัฐบาลกลาง ภาษีรัฐ และภาษีท้องถิ่น ในกฎเกณฑ์และอัตราที่ต่างกัน โดยทั่วไปภาษีในอเมริกาประกอบด้วย ภาษีเงินได้ ภาษีทรัพย์สิน ภาษีโรงเรือน ภาษีประกันสังคม ภาษีโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและทรัพย์สินแบบให้เปล่า และภาษีจากการขาย
ทุกคนที่มีรายได้ในอเมริกาต้องจ่ายภาษีเงินได้ไม่ว่าจะถือสัญชาติใด ใครก็ตามที่เดินทางมาอเมริกา เพื่อมาศึกษาเรียนต่ออเมริกา มาทำงาน หรือมาเริ่มต้นชีวิตใหม่จึงต้องรู้เรื่องภาษีในอเมริกา
หน่วยงานภาษีของรัฐบาลกลางหรือกรมสรรพากร ซึ่งรู้จักกันในนาม IRS จำแนกผู้เสียภาษีออกเป็น 2 ประเภท คือ ผู้ประกอบธุรกิจ ต้องเสียภาษีประเภทต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ การจดทะเบียนบริษัทสถานที่ตั้ง และรายได้ ผู้เสียภาษีส่วนบุคคล จำแนกได้เป็นผู้พักอาศัยถาวร ผู้พักอาศัยชั่วคราวและบุคคลต่างด้าวผู้ถือสถานภาพร่วม วึ่งแต่ละกลุ่มจะมีเกณฑ์ในการชำระภาษีต่างกัน
แม้จะไม่ได้ถือสัญชาติอเมริกันคุณจะได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้พักอาศัยที่ต้องชำระภาษี ถ้าคุณผ่าน 1 ใน 2 หลักเกณฑ์ ในรอบ 1 ปีตามปฏิทิน คือเกณฑ์ตามกรีนการ์ด (ซึ่งคุณเป็นผู้พักอาศัยถาวรในอเมริกาตามกฎหมาย) หรือเกณฑ์ตามการปรากฏตัว ในการผ่านเกณฑ์หลัง คุณต้องปรากฏตัวในอเมริกาเป็นเวลาอย่างน้อย 31 วัน ในปีปัจจุบัน และ 183 วัน ระหว่างระยะเวลาพำนักอาศัย 3 ปีซึ่งรวมปีปัจจุบันและ 2 ปีก่อนหน้าโดยนับ a คือ จำนวนวันทั้งหมดที่คุณประกฏตัวอยู่ในอเมริกา ในปีปัจจุบัน และ b คือ 1 ใน 3 ของจำนวนวันทั้งหมดที่คุณอาศัยอยู่ในอเมริกาในปีแรกก่อนปีปัจจุบัน และ c คือ1 ใน 6 ของจำนวนวันทั้งหมดที่คุณอาศัยอยู่ในอเมริกา ในปีที่สองก่อนปีปัจจุบัน
มีบางวันที่ไม่ต้องนับว่าเป็นวันที่คุณไม่ต้องปรากฏตัวอย่างเป็นทางการในอเมริกาสำหรับเกณฑ์การปรากฏตัว เช่น
• วันที่คุณเดินทางจากที่พักอาศัยในประเทศแคนาดาหรือเม็กซิโก เพื่อไปทำงานในอเมริกา ถ้าคุณเดินทางมาทำงานเป็นประจำจากประเทศแคนาดาหรือเม็กซิโก
• วันที่คุณอยู่ในอเมริกาน้อยกว่า 24 ชั่วโมง คือเมื่อคุณใช้อเมริกาเป็นทางผ่านในการเดินทางระหว่างสถานที่ 2 แห่งนอกอเมริกา • วันที่คุณอยู่อเมริกาในฐานะพนักงานเดินเรือแห่งชาติ
• วันที่คุณไม่สามารถเดินทางออกจากอเมริกา เนื่องจากมีปัญหาทางสุขภาพระหว่างอยู่ในอเมริกา
• วันที่คุณอยู่ในประเทศในฐานะบุคคลที่ได้รับการยกเว้นภาษี
คุณจะได้รับการพิจารณาให้เป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้นภาษี คือ
ถ้าคุณทำงานให้รัฐบาลต่างประเทศ คุณเป็นครูหรือผู้ฝึกงานที่ได้รับวีซ่าประเภท J หรือ Q ถ้าคุณปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของวีซ่าอย่างจริงจัง คุณเป็นนักเรียนที่ได้รับวีซ่าประเภท F, J, M หรือ Q ถ้าคุณปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของวีซ่าอย่างจริงจัง หรือคุณเป็นนักกีฬาอาชีพที่อยู่ในอเมริกาชั่วคราว และร่วมแข่งขันกีฬาเพื่อการกุศล
คุณต้องคาดหวัง ในสิ่งที่ไม่คาดฝันจากกรมสรรพากร เจ้าหน้าที่สรรพากรมีสิทธิที่จะตัดสินใจโดยอิสระในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับผู้ชำระภาษี เช่น ถ้าคุณมีคุณสมบัติเป็นผู้พำนักอาศัยถาวรตามเกณฑ์การปรากฏตัว กรมสรรพากรอาจพิจารณาว่าคุณเป็นบุคคลต่างด้าวที่พำนักอาศัยชั่วคราว ถ้าคุณปรากฏตัวในอเมริกาเป็นเวลาน้อยกว่า 183 วันในปีปัจจุบัน หรือถ้าคุณชำระภาษีในประเทศอื่น อีกนัยหนึ่งคือคุณพำนักอาศัยและมีบ้านอยู่ในประเทศอื่น และถ้าคุณมีความสำพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเทศนั้นมากกว่าอเมริกา ซึ่งหมายความว่าคุณเป็นราษฎรที่แท้จริงของประเทศนั้น